การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถนนนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2547 5153 โทรสาร 0 2547 5153
หมายเหตุ :
- เปิดให้บริการ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น. (มีพักเที่ยง
ติดต่อ ส่งไปรษณีย์
ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
หมายเหตุ : ในการส่งทางไปรษณีย์ ผู้ยื่นคำขอต้องส่งไปรษณีย์แบบลงทะเบียนตอบรับและให้ถือว่าวันที่การยื่นคำขอไปถึงพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นวันที่ยื่นคำขอนั้น เปิดให้บริการ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น.
เอกสารหลักฐาน
1.แบบคำขอจดทะเบียน (แบบ บมจ.101) (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ตัวอย่างเอกสาร: ดาวน์โหลด
2.รายการจดทะเบียน ข้อ 1 – 6 (แบบ บมจ.005) (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ตัวอย่างเอกสาร: ดาวน์โหลด
3.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บมจ.006) (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ตัวอย่างเอกสาร: ดาวน์โหลด
4.สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท (สำเนา 1 ฉบับ)
หมายเหตุ: ให้กรรมการผู้ขอจดทะเบียนรับรองสำเนาทุกหน้า
5.ข้อบังคับ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) รายละเอียดเอกสาร: 1. ต้องดีดหรือพิมพ์เป็นภาษาไทย ใช้กระดาษหน้าเดียว และมีหมายเลขประจำหน้าและจำนวนหน้าทั้งหมดไว้ที่มุมขวาด้านบนของทุกหน้า 2. ให้กรรมการผู้ขอจดทะเบียน ลงลายมือชื่อรับรองข้อความถูกต้องที่ด้านล่างของทุกหน้า
6.หนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน (ฉบับจริง 1 ฉบับ) รายละเอียดเอกสาร: ซึ่งแสดงการรับชำระเงินค่าหุ้น โดยระบุชื่อบัญชี จำนวนเงินที่ได้รับไว้ทั้งสิ้น ประเภทบัญชี และเลขที่บัญชีเงินฝาก
7.หนังสือมอบอำนาจ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ประเภทการใช้เอกสาร: (ถ้ามี)
หมายเหตุ: ผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ตัวอย่างเอกสาร: ดาวน์โหลด
8.หนังสือให้ความเห็นชอบจากหน่วยงานที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจที่ต้องได้รับความเห็นชอบก่อน (ฉบับจริง 1 ฉบับ / สำเนา 1 ฉบับ)
รายละเอียดเอกสาร: ธุรกิจที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น – ธุรกิจธนาคาร เงินทุน เครดิตฟองซิเอร์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย – ธุรกิจประกันวินาศภัย ประกันชีวิต นายหน้าประกันวินาศภัย นายหน้า ประกันชีวิต ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย – ธุรกิจหลักทรัพย์ ซื้อขายล่วงหน้า ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ – ธุรกิจจัดหางาน ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการจัดหางาน – ธุรกิจขายตรง ตลาดแบบตรง ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
ประเภทการใช้เอกสาร: กรณีประกอบธุรกิจที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่กำกับดูแล
ค่าธรรมเนียม
- การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด – ทุกจำนวนเงินทุนไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งทุนที่กำหนดไว้ (เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท) ค่าธรรมเนียม: 1,000.00 บาท
- ค่าธรรมเนียมสูงสุดรวมแล้วไม่เกิน ค่าธรรมเนียม: 250,000.00 บาท
- ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตั้งบริษัท ค่าธรรมเนียม: 200.00 บาท
- หนังสือรับรอง ฉบับละ ค่าธรรมเนียม: 200.00 บาท
- รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ ค่าธรรมเนียม: 50.00 บาท
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ขั้นตอนหลักในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
ขั้นตอนที่ 1 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาอย่างน้อย 15 คน ขึ้นไป จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ และให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัททุกคนลงลายมือชื่อและนำไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
ขั้นตอนที่ 2 เสนอขายหุ้นโดยการเสนอขายหุ้นทั้งหมดต่อผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทหรือเสนอขายหุ้นต่อประชาชน กรณีเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทหรือบริษัทจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนที่ต้องจัดทำและส่งให้หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยส่งให้นายทะเบียน 1 ชุด ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งให้ หน่วยงานดังกล่าว
ขั้นตอนที่ 3 ประชุมจัดตั้งบริษัท
3.1 ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทเรียกนัดประชุมจัดตั้งบริษัทเมื่อมีการจองหุ้นครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 50% ของจำนวนหุ้นที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องเรียกประชุมจัดตั้งบริษัทภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่มีการจองหุ้นครบตามจำนวนที่กำหนด แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
3.2 ในการเรียกประชุมจัดตั้งบริษัท ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องดำเนินการส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้จองหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนวันประชุม และส่งให้นายทะเบียนไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม พร้อมด้วยเอกสารดังนี้
3.2.1 ระเบียบวาระการประชุม
3.2.2 เอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทพิจารณาให้สัตยาบันหรืออนุมัติ (โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท 2 คน รับรองความถูกต้องของเอกสาร)
3.2.3 ร่างข้อบังคับ
3.3 การประชุมจัดตั้งบริษัทต้องจัดให้มีขึ้น ณ ท้องที่ที่จะเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือจังหวัดใกล้เคียง
3.4 การประชุมจัดตั้งบริษัทจะต้องมีผู้จองหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่จองแล้วมาประชุมจึงจะเป็นองค์ประชุมได้
3.5 การประชุมจัดตั้งบริษัทต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
3.5.1 พิจารณาข้อบังคับ
3.5.2 ให้สัตยาบันแก่กิจการที่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทได้ทำไว้และอนุมัติค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท
3.5.3 กำหนดจำนวนเงินที่จะให้แก่ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท ถ้าระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
3.5.4 กำหนดลักษณะแห่งหุ้นบุริมสิทธิ (ถ้ามี)
3.5.5 กำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือ หุ้นบุริมสิทธิ ที่จะออกให้แก่บุคคลที่ให้ทรัพย์สินอื่นนอกจากตัวเงิน หรือให้ใช้ลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบหรือหุ่นจำลอง แผนผัง สูตร หรือกรรมวิธีลับใด ๆ หรือให้ข้อสนเทศ เกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม การพาณิชย์หรือวิทยาศาสตร์
3.5.6 เลือกตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ
3.5.7 เลือกตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี
3.6 เมื่อประชุมจัดตั้งบริษัทเสร็จสิ้นแล้ว ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องส่งมอบกิจการและเอกสารทั้งปวงของบริษัทให้แก่คณะกรรมการภายใน 7 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นการประชุม
3.7 เมื่อรับมอบกิจการและเอกสารแล้ว ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้ผู้จองหุ้นชำระเงินค่าหุ้นเต็มจำนวนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้ง ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 14 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
3.8 เมื่อได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ให้คณะกรรมการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายใน 3 เดือนนับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัทเสร็จ
ขั้นตอนที่ 4 จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
4.1 คณะกรรมการบริษัทต้องขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมจัดตั้งบริษัทเสร็จ
4.2 คำขอจดทะเบียนต้องดำเนินการโดยถูกต้อง ครบถ้วน ตามกฎหมาย และพิมพ์เป็นภาษาไทย
4.3 ในการขอจดทะเบียน ให้กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อขอจดทะเบียน โดยกรรมการผู้ขอจดทะเบียนต้องเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่และสถานที่ติดต่ออยู่ในราชอาณาจักรไทย
4.4 กรรมการบริษัททุกคนและผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือลงลายมือต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้ โดยมีหนังสือรับรองการลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าวแสดงต่อนายทะเบียนด้วย เว้นแต่กรณีตาม 4.4.2 ให้ผู้รับรองลายมือชื่อลงชื่อไว้ในคำขอจดทะเบียน
4.4.1 นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต หรือนายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจเอกขึ้นไป ซึ่งประจำอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่ (โดยต้องทำตามแบบหนังสือรับรองลายมือชื่อ แบบ บมจ.404 กำหนด)
4.4.2 ทนายความหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองลายมือชื่อบริษัทมหาชนจำกัดไว้กับนายทะเบียน
4.4.3 หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุล หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศอื่น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว สำหรับกรณีลงลายมือชื่อในต่างประเทศ
4.4.4 บุคคลซึ่งตามกฎหมายของต่างประเทศที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาหรือพำนักอาศัยไม่ว่าในฐานะใด ๆ มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ ทั้งนี้โดยมีคำรับรองของบุคคลตาม 4.3 รับรองลายมือชื่อของผู้รับรองลายมือชื่อด้วย (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ข้อ 3)
4.5 การยื่นสำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนต้องลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารทุกหน้า
หมายเหตุ :
1. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ในกรณีที่คำขอหรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน และ/หรือมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์เป็นเหตุให้ไม่สามารถพิจารณาได้ เจ้าหน้าที่จะจัดทำบันทึกความบกพร่องของรายการเอกสารหรือเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติม โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไข และ/หรือ ยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดในบันทึกดังกล่าว มิเช่นนั้นจะถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอ โดยเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจะลงนามบันทึกดังกล่าว และ จะมอบสำเนาบันทึกความบกพร่องดังกล่าวให้ผู้มายื่นคำขอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจไว้เป็นหลักฐาน
2. กรณียื่นคำขอจดทะเบียน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน เมื่อกองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พิจารณาแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือแล้ว ทางกรมจะแจ้งผลการพิจารณาให้แก่ผู้ยื่นคำขอ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
3. กรณียื่นคำขอจดทะเบียน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ระยะเวลาดำเนินการอาจไม่เป็นไปตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 ที่กำหนด 115 นาที
การจดทะเบียน หนังสือบริคณห์สนธิบริษัทมหาชนจำกัด
หนังสือบริคณห์สนธิเป็นตราสารก่อตั้งบริษัท เกิดขึ้นโดยมีบุคคลมารวมตัวกันเพื่อก าหนดข้อมูล ที่สำคัญเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น ชื่อ วัตถุประสงค์ ทุนจดทะเบียน ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ของบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหากำไรมาแบ่งกันในระหว่างผู้ถือหุ้น
หลักเกณฑ์ขั้นตอนและวิธีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ มีดังนี้
1. หลักการทั่วไป
บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คน ขึ้นไป เป็นผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท (มาตรา 16)
2. คุณสมบัติของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท
ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องมีคุณสมบัติ ตามมาตรา 17 ดังต่อไปนี้
(1) บรรลุนิติภาวะแล้ว
(2) มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นจ านวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจ านวนผู้เริ่มจัดตั้งทั้งหมด
(3) จองหุ้น และหุ้นที่จองทั้งหมดนั้นต้องเป็นหุ้นที่ช าระค่าหุ้นเป็นตัวเงินรวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าของทุนจดทะเบียน
(4) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย และโดยทุจริต
(5) ไม่เคยรับโทษจ าคุกโดยค าพิพากษาถึงที่สุดให้จ าคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระท า
3. การใช้ชื่อบริษัทมหาชนจำกัด
ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจองชื่อบริษัทมหาชนจำกัดด้วยตนเองที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (http://www.dbd.go.th) โดยชื่อดังกล่าวจะต้องไม่เหมือนหรือคล้ายหรือมีเสียงเรียกขานตรงกันหรือ คล้ายคลึงกับชื่อที่ได้จองหรือไม่จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว (มาตรา 13) หรือขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในมาตรา 11 มาตรา 14 (4) และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จ ากัด พ.ศ. 2535 ซึ่งก าหนดไว้ดังนี้
ข้อ 1. บริษัทต้องไม่ใช้ชื่อดังต่อไปนี้ เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทโดยมิได้รับพระบรมราชานุญาต หรือมิได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
(1) พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี หรือรัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน หรือองค์การของรัฐ
(2) ชื่อประเทศ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ
(3) ชื่อที่มีความหมายแสดงว่า บริษัทหรือกิจการของบริษัทเป็นบริษัทหรือกิจการ ที่รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการ ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐหรือองค์การของรัฐ
ทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ดำเนินกิจการ
ข้อ 2 บริษัทต้องไม่ใช้ชื่อ คำ หรือข้อความที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เป็นชื่อหรือ ส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท
(๑) ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(๒) อาจก่อให้เกิดความสำคัญผิด หรือการหลอกลวงประชาชนเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ กับความเป็นเจ้าของ ลักษณะ วัตถุประสงค์ หรือฐานะของกิจการ หรือในประการอื่น
ข้อ 3 ในกรณีที่ใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาต่างประเทศ บริษัทต้องเขียนชื่อภาษาต่างประเทศนั้น เป็นภาษาอังกฤษ ให้มีการออกเสียงตรงหรือมีความหมายตรงกับชื่อภาษาไทย โดยมีคำว่า “Public Company Limited” ต่อท้ายชื่อ
ข้อ 4 ในกรณีที่บริษัทประกอบกิจการธนาคาร บริษัทจะไม่ใช้คำว่า “บริษัท” นำหน้าชื่อ ก็ได้” ทั้งนี้ หลังจากได้รับการอนุมัติชื่อบริษัทที่จองแล้ว ให้สั่งพิมพ์ใบแจ้งผลการจองชื่อบริษัทมหาชนจำกัด
เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ โดยใบแจ้งผลการจองชื่อจะมีอายุ 30 วัน นับแต่วันที่จองชื่อได้ หากไม่ได้ดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนภายในระยะเวลาดังกล่าว ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท จะต้องขอจองชื่อใหม่
4. การจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
หลังจากที่ชื่อได้รับการอนุมัติให้นำไปใช้จดทะเบียนได้ ให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทร่วมกันจัดทำหนังสือ บริคณห์สนธิ ซึ่งมาตรา 18 ก าหนดให้หนังสือบริคณห์สนธิอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อบริษัท ซึ่งต้องมีคำว่า “บริษัท” นำหน้า และ คำว่า “จำกัด (มหาชน)” ต่อท้ายหรือ ใช้อักษรย่อว่า “บมจ.” น าหน้า แทนคำว่า “บริษัท” และ “จำกัด (มหาชน)”
(2) ความประสงค์ของบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
(3) วัตถุประสงค์ของบริษัทซึ่งต้องระบุประเภทของธุรกิจโดยชัดแจ้ง
(4) ทุนจดทะเบียนซึ่งต้องแสดงชนิด จำนวน และมูลค่าของหุ้น
(5) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ซึ่งต้องระบุว่าจะตั้งอยู่ ณ ท้องที่ใดในราชอาณาจักร
(6) ชื่อ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ และที่อยู่ของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัท และจำนวนหุ้นที่แต่ละคน จองไว้
5. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัททุกคนต้องลงลายมือชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิ และนำไปขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน
6. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
6.1 ให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัททุกคน ลงลายมือชื่อด้วยตนเองในคำขอจดทะเบียนต่อหน้า นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่อาจลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจ ากัด พ.ศ. 2535 ข้อ 3 ก าหนดให้ผู้ซึ่งต้องลงลายมือชื่อในรายการต่างๆ ในคำขอจดทะเบียนสามารถลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคล ดังต่อไปนี้ได้
(1) ทนายความหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองลายมือชื่อไว้กับ นายทะเบียน โดยให้ทนายความหรือผู้สอบบัญชีดังกล่าว ลงลายมือชื่อรับรองไว้ในแบบค าขอจดทะเบียน (บมจ.101)
(2) นายอ าเภอ ปลัดอ าเภอ ผู้อ านวยการเขต ผู้ช่วยผู้อ านวยการเขต หรือนายต ารวจ ซึ่งมี ยศตั้งแต่ร้อยต ารวจเอกขึ้นไป ซึ่งประจ าอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิล าเนาอยู่ โดยต้องมีหนังสือรับรอง การลงลายมือชื่อตามแบบ (บมจ.404) แสดงต่อนายทะเบียนด้วย
(3) หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูต หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุล หรือหัวหน้าส านักงานสังกัด กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งประจ าอยู่ ณ ประเทศอื่น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ท าการแทนบุคคลดังกล่าว ส าหรับกรณีลงลายมือชื่อในต่างประเทศ
(4) บุคคลซึ่งตามกฎหมายของต่างประเทศที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิล าเนาหรือพ านักอาศัย ไม่ว่าในฐานะใดๆ มีอ านาจรับรองลายมือชื่อ ทั้งนี้ โดยมีค ารับรองของบุคคลตาม (3) รับรองลายมือชื่อของ ผู้รับรองลายมือชื่อดังกล่าวด้วย
6.2 ในการขอจดทะเบียน ให้ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อ ขอจดทะเบียน และต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลตาม 5.1 โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทที่เป็นผู้ขอจดทะเบียน ต้องมีถิ่นที่อยู่และสถานที่ติดต่อในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจ ากัด พ.ศ. 2535 ข้อ 2 (4) และ ข้อ 2 (5)
7. ผู้เริ่มจัดตั้งจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใดๆ ได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียน หนังสือบริคณห์สนธิแล้ว
8. เอกสารที่ใช้ในการขอจดทะเบียน
คำขอจดทะเบียนให้ใช้แบบพิมพ์ตามที่นายทะเบียนจัดพิมพ์ขึ้นตามที่รัฐมนตรีกำหนด และต้องมีข้อความถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่กำหนดไว้ในแบบพิมพ์ ซึ่งข้อความดังกล่าวต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ เป็นภาษาไทย และหากมีสำเนาเอกสารประกอบการจดทะเบียนผู้ขอจดทะเบียนต้องลงลายมือชื่อรับรอง ความถูกต้องของสำเนาเอกสารทุกหน้า ซึ่งการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทมหาชนจำกัด ใช้เอกสารดังนี้
(1) ค าขอจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 (แบบ บมจ. 101)
(2) หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ บมจ.001)
(3) วัตถุประสงค์ (แบบ บมจ.002)
(4) ใบแจ้งผลการจองชื่อบริษัทมหาชนจำกัด
(5) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
(6) หนังสือจากหน่วยงานที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจบางประเภทซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียน หรือได้รับอนุญาต หรือได้รับความเห็นชอบก่อน เช่น
– ธุรกิจธนาคาร เงินทุน เครดิตฟองซิเอร์ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง
– ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
– ธุรกิจประกันวินาศภัย ประกันชีวิต ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
– ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต ต้องได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย
– ธุรกิจหลักทรัพย์ ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
– ธุรกิจซื้อขายล่วงหน้า ต้องจดทะเบียนกับส านักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
– ธุรกิจจัดหางาน ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน
– ธุรกิจขายตรง ตลาดแบบตรง ต้องจดทะเบียนต่อเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผูบริโภค
แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถดาวน์โหลด (Download) ได้จากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจ
การค้า (http://www.dbd.go.th)
9. ค่าธรรมเนียม
(1) การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
– ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท แห่งจ านวนทุนที่กำหนดไว้ 1,000 บาท เศษของ 1,000,000 บาท ให้คิดเป็น 1,000,000 บาท
– ค่าธรรมเนียมสูงสุด รวมแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
(2) หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
(3) รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
10. สถานที่ให้บริการ
ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นค าขอจดทะเบียนได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
(1) ยื่นค าขอจดทะเบียนด้วยตนเอง ณ ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถนนนนทบุรี ต าบลบางกระสอ อ าเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 หรือ
(2) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงนายทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนบริษัทมหาชน และธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ 563 ชั้น 4 ถนนนนทบุรี ต าบลบางกระสอ อ าเภอเมือง จังหวัด นนทบุรี 11000
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1. กฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
3. กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2549
4. ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดต่อนายทะเบียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
5. พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา
Line ID:@nara53 |
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6